
“ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า เพราะว่าความชั่วย่อม ทำให้เดือดร้อนในภายหลัง
บุคคล ทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นบุคคลทำแล้วจัดเป็น กรรมที่ดี เป็นกรรมที่ประเสริฐ”
สํ.ส. (ไทย)๑๕/๒๔๐/๖๑
การทำกรรมชั่วนั้นในบางครั้งเมื่อกรรมยังไม่เห็นผล บางคนจึงนึกว่าว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่สมควร ยิ่งทำแล้วรู้สึกว่าตนได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น ลาภ ยศ สรรเสริญ หรือ เงินทอง ก็ยิ่งหลงคิดว่ากรรมชั่วที่ทำอยู่นั้นเป็นกรรมดี แต่กรรมอันใดก็ตามที่กระทำแล้ว ผู้อื่นเดือดร้อน เมื่อถึงเวลาที่กรรมชั่วนั้นส่งผลก็ย่อมทำให้ตนเองนั้นเดือดร้อนในภายหลัง หากผู้ที่ทำกรรมชั่วนั้นโชคดีกรรมชั่วก็จะส่งผลเร็ว อาจทำให้ระลึกได้ว่ากรรมที่ทำอยู่นั้นไม่ดี และเลิกกระทำก่อนที่จะสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองมากนัก ในทางตรงกันข้ามหากผู้ที่ทำกรรมชั่วนั้นโชคไม่ดี ก็จะหลงทำกรรมชั่วนั้นมากยิ่งขึ้น ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ เมื่อกรรมนั้นส่งผลความเดือดร้อนก็จะมากยิ่งขึ้นไม่มากเท่าทวี
ดังนั้น การไม่ทำกรรมชั่วเลยย่อมดีกว่า หากแต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมที่ทำอยู่นั้นเป็นกรรมชั่ว หรือกรรมดี ก็คงต้องพิจารณาจากกรรมที่กระทำนั้นว่า ทำให้ผู้อื่นหรือตนเอง หรือทั้งตนเองและผู้อื่นเดือดร้อนหรือไม่ คำว่า เดือดร้อนนั้นเดือดร้อนจากอะไร คือ เดือดร้อนจากความโลภ ความโกรธ ความหลง นั่งเอง หากกรรมใดทำแล้ว ความโลภเกิดขึ้น ความโกรธเกิดขึ้น ความหลงเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดกับตนเอง หรือเกิดกับผู้อื่น หรือทั้งตนเองและผู้อื่น นั้นแสดงว่าได้เพราะเมล็ดแห่งกรรมชั่วไว้แล้ว รอเพียงวันที่กรรมชั่วนั้นจะเจริญงอกงาม ออกดอก ออกผล แต่ถ้าเราไหวตัวทันตั้งแต่ กรรมนั้นยังเป็นต้นอ่อน และเลิกการกระทำนั้นเสีย ต้นอ่อนนั้น ก็จะไม่เจริญเติบโตจนออกดอกออกผล และกลายเป็นอโหสิกรรม เป็นกรรมที่ไม่ส่งผล ต่อไป
เราจึงต้องพิจารณาอยู่เสมอว่า กรรมที่เราทำอยู่นั้นจะส่งผลชั่ว หรือส่งผลดี ในท้ายที่สุด นั้นเอง