Author: sho
นานาทิฏฺฐิเก นานยิสฺสสิ เต
มนุษย์ทั้งหลายต่างความคิดต่างความเห็นกัน ท่านจะกำหนดให้คิดเห็นเหมือนกันหมด เป็นไปไม่ได้ บาลี ๒๙/๗๓๐, อมฤตพจนา พุทธศาสนสุภาษิต หน้าที่ ๑
ยามเมื่ออยู่ ดีไว้ ให้โลกเห็น
ยามเมื่ออยู่ ดีไว้ ให้โลกเห็น ยามเมื่อเย็น เป็นร่ม ห่มลูกหลาน ยามเมื่อล้ม ฝากชื่อ ไว้ลือนาม ให้ผู้คน ทำตาม ในความดี.
เข้าใจธรรมแม้บทเดียว ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เข้าใจธรรมแม้บทเดียว ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
ความสุขกับชีวิต ปฐมบท
มนุษย์ย่อมรักสุข เกลียดทุกข์ กันทุกคน ทำให้ทุกคนต่างพยายามที่จะแสวงหาความสุข แต่จะมีใครซักกี่คนที่รู้ว่า ความสุข ที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร และต้องทำอย่างไรถึงจะได้พบกับ ความสุข ที่แท้จริง
คำถามที่ผู้คนมักสงสัย
ผู้คนมากมายมักมีคำถามเกี่ยวกับชีวิต ว่าแต่ละคนจะมีความสุขในชีวิต และพ้นไปจากความทุกข์ที่มีได้อย่างไร จึงเกิดคำสอน ตำรา ปรัชญา ความเชื่อ หรือ พิธีกรรมหลากหลาย ที่ผู้คนเชื่อว่ามันจะทำให้ชีวิตดีขึ้น ซึ่งบางอย่างก็ทำได้บ้าง บางอย่างก็ไม่ได้ผลอะไรนัก ในวันหนึ่งเมื่อได้มีโอกาสย้อนดูชีวิตของตัวผู้เขียนในวัยเด็ก ทำให้ยืนยันได้อีกครั้งว่า ชีวิตที่เติบโตและผ่านสิ่งต่างๆ มาจนกระทั่งได้พบ คำสอน อันมหัศจรรย์ ซึ่งถูกนำมาใช้ และได้เรียนรู้… read more คำถามที่ผู้คนมักสงสัย
ปัจจัยของการมีความสุขที่แท้จริง
ปัจจัยของการมีความสุขที่แท้จริง คือ การใช้ชีวิตอยู่บนความไม่ประมาท หากได้ติดตามข่าวสาร หรือสังเกตุผู้คนรอบข้าง เรามักจะเห็นผลของกรรมที่เกิดจากความประมาทในการใช้ชีวิตอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นความประมาทจากความตั้งใจ หรือประมาทโดยความไม่รู้ ซึ่งความประมาทนั้นจะส่งผลกรรมสี่ลักษณะ คือ หนึ่งไม่บังเกิดผล สองบังเกิดผลในปัจจุบัน สามบังเกิดผลในเวลาถัดไป สี่บังเกิดผลในเวลาถัดไปอีก เช่น เมื่อเราตำหนิใครซักคนหนึ่ง แต่คนที่ถูกเราตำหนินั้น เคยได้รับความช่วยเหลือจากเราไว้ จึงทำให้การตำหนินั้น ก็ไม่ส่งผลใดกับเรา… read more ปัจจัยของการมีความสุขที่แท้จริง
กฏทองคำ ( The Golden Rule)
วันนี้ได้อ่านโพสต์หนึ่งซึ่งเล่าถึงความไม่พอใจในบริการของพนักงานร้าน IT ยี่ห้อ ผลไม้ สาขาหนึ่งและในคอมเม้นท์ ก็มีบางคนบอกว่าได้รับการบริการไม่ดีในแบบเดียวกัน ในขณะที่บางคนก็บอกว่าเป็นเฉพาะพนักงานบางคนไม่ใช่ทุกคน แล้วจะทำอย่างไรที่จะทำให้มีโอกาสได้รับการบริการที่ดีอยู่เสมอคำตอบนั้นก็คือ กฎทองคำ
ตาบอดคลำช้าง
ตาบอดคลำช้าง แท้จริงแล้วปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น มักเกิดจากการที่คนส่วนหนึ่งมองความจริงเพียงด้านเดียว แล้วคนเหล่านั้นก็ยึดความจริงเพียงด้านเดียวนั้น ว่าเป็นความจริงไปเสียทั้งหมด ดังเรื่อง ตาบอดคลำช้าง ที่มีอยู่ว่า ณ เมืองหนึ่ง มีความวุ่นวายเกิดขึ้นในเมือง ผู้คนทะเลาะกันเพราะต่างเชื่อในทฤษฏีของตนว่าอย่างนี้จริง อย่างนี้ถูกต้อง เจ้าเมืองจึงเรียกชุมนุมคนในเมือง แล้วนำช้างเชือกหนึ่งมาไว้ที่กลางลาน หลังจากนั้นจึงสั่งให้ นำคนตาบอดแต่กำเนิดทั้งเมืองมา ยืนใกล้กับงวงช้างบ้าง งาช้างบ้าง… read more ตาบอดคลำช้าง
ปฏิจจสมุปบาท paṭiccasamuppāda : dependent origination
อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ : เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ : เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ : เมื่อสิ่งนี้ไม่มี… read more ปฏิจจสมุปบาท paṭiccasamuppāda : dependent origination