Tag: ความสุขกับชีวิต
กรรมไม่ดี ย่อมเผาผลาญในภายหลัง
“ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า เพราะว่าความชั่วย่อม ทำให้เดือดร้อนในภายหลัง บุคคล ทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นบุคคลทำแล้วจัดเป็น กรรมที่ดี เป็นกรรมที่ประเสริฐ”สํ.ส. (ไทย)๑๕/๒๔๐/๖๑ การทำกรรมชั่วนั้นในบางครั้งเมื่อกรรมยังไม่เห็นผล บางคนจึงนึกว่าว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่สมควร ยิ่งทำแล้วรู้สึกว่าตนได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น ลาภ ยศ สรรเสริญ หรือ เงินทอง ก็ยิ่งหลงคิดว่ากรรมชั่วที่ทำอยู่นั้นเป็นกรรมดี… read more กรรมไม่ดี ย่อมเผาผลาญในภายหลัง
นานาทิฏฺฐิเก นานยิสฺสสิ เต
มนุษย์ทั้งหลายต่างความคิดต่างความเห็นกัน ท่านจะกำหนดให้คิดเห็นเหมือนกันหมด เป็นไปไม่ได้ บาลี ๒๙/๗๓๐, อมฤตพจนา พุทธศาสนสุภาษิต หน้าที่ ๑
ยามเมื่ออยู่ ดีไว้ ให้โลกเห็น
ยามเมื่ออยู่ ดีไว้ ให้โลกเห็น ยามเมื่อเย็น เป็นร่ม ห่มลูกหลาน ยามเมื่อล้ม ฝากชื่อ ไว้ลือนาม ให้ผู้คน ทำตาม ในความดี.
เข้าใจธรรมแม้บทเดียว ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เข้าใจธรรมแม้บทเดียว ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
ปัจจัยของการมีความสุขที่แท้จริง
ปัจจัยของการมีความสุขที่แท้จริง คือ การใช้ชีวิตอยู่บนความไม่ประมาท หากได้ติดตามข่าวสาร หรือสังเกตุผู้คนรอบข้าง เรามักจะเห็นผลของกรรมที่เกิดจากความประมาทในการใช้ชีวิตอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นความประมาทจากความตั้งใจ หรือประมาทโดยความไม่รู้ ซึ่งความประมาทนั้นจะส่งผลกรรมสี่ลักษณะ คือ หนึ่งไม่บังเกิดผล สองบังเกิดผลในปัจจุบัน สามบังเกิดผลในเวลาถัดไป สี่บังเกิดผลในเวลาถัดไปอีก เช่น เมื่อเราตำหนิใครซักคนหนึ่ง แต่คนที่ถูกเราตำหนินั้น เคยได้รับความช่วยเหลือจากเราไว้ จึงทำให้การตำหนินั้น ก็ไม่ส่งผลใดกับเรา… read more ปัจจัยของการมีความสุขที่แท้จริง
การยึดติดกับสิ่งใดย่อมทำให้เป็นทุกข์
การยึดติดกับสิ่งใดย่อมทำให้เป็นทุกข์ ยิ่งยึดติดกับสิ่งที่คิดว่าเป็นของเราก็ยิ่งทุกข์
สัตว์โลกทั้งหลาย
สัตว์โลกทั้งหลายต่าง เกิดมาบนฐานแห่งทุกข์ผู้ที่ไม่เห็นทุกข์ ไม่รู้จักทุกข์ ก็มักแสวงหาความสุขเพราะคิดว่ามีสุขแล้วทุกข์จะหมดไปแต่แท้จริงแล้วสุขก็คือทุกข์อย่างหนึ่งเมื่อได้รับมาโดยไม่เห็นทุกข์ ไม่รู้จักทุกข์แล้วยิ่งสุขเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทุกข์มากเท่านั้น
กฏทองคำ ( The Golden Rule)
วันนี้ได้อ่านโพสต์หนึ่งซึ่งเล่าถึงความไม่พอใจในบริการของพนักงานร้าน IT ยี่ห้อ ผลไม้ สาขาหนึ่งและในคอมเม้นท์ ก็มีบางคนบอกว่าได้รับการบริการไม่ดีในแบบเดียวกัน ในขณะที่บางคนก็บอกว่าเป็นเฉพาะพนักงานบางคนไม่ใช่ทุกคน แล้วจะทำอย่างไรที่จะทำให้มีโอกาสได้รับการบริการที่ดีอยู่เสมอคำตอบนั้นก็คือ กฎทองคำ
ตาบอดคลำช้าง
ตาบอดคลำช้าง แท้จริงแล้วปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น มักเกิดจากการที่คนส่วนหนึ่งมองความจริงเพียงด้านเดียว แล้วคนเหล่านั้นก็ยึดความจริงเพียงด้านเดียวนั้น ว่าเป็นความจริงไปเสียทั้งหมด ดังเรื่อง ตาบอดคลำช้าง ที่มีอยู่ว่า ณ เมืองหนึ่ง มีความวุ่นวายเกิดขึ้นในเมือง ผู้คนทะเลาะกันเพราะต่างเชื่อในทฤษฏีของตนว่าอย่างนี้จริง อย่างนี้ถูกต้อง เจ้าเมืองจึงเรียกชุมนุมคนในเมือง แล้วนำช้างเชือกหนึ่งมาไว้ที่กลางลาน หลังจากนั้นจึงสั่งให้ นำคนตาบอดแต่กำเนิดทั้งเมืองมา ยืนใกล้กับงวงช้างบ้าง งาช้างบ้าง… read more ตาบอดคลำช้าง
ปฏิจจสมุปบาท paṭiccasamuppāda : dependent origination
อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ : เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ : เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ : เมื่อสิ่งนี้ไม่มี… read more ปฏิจจสมุปบาท paṭiccasamuppāda : dependent origination